โรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในเขตอำเภอกุดข้าวปุ้นเป็นโรคซึ่งเป็นผลมาจากทั้งกรรมพันธุ์และความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภค การออกำลังกาย ผลกระทบจากการเจ็บป่วยส่งผลเสียต่อทั้งระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน ตลอดจนประเทศชาติ ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ
โรงพยาบาลกุดข้าวปุ้นตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวเพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น ลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ภาวะแทรกซ้อน ทางตา ตาบอด ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังที่เส้นประสาท ฯลฯ โดยจัดให้
โรงพยาบาลกุดข้าวปุ้นตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวเพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น ลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ภาวะแทรกซ้อน ทางตา ตาบอด ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังที่เส้นประสาท ฯลฯ โดยจัดให้
- มีระบบการป้องกัน และลดจำนวนผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ โดยการคัดกรอง
- ให้คำแนะนำด้านสุขภาพในการดูแล ป้องกันตนเองในกลุ่มเสี่ยง และผู้ป่วยเบาหวานสามารถดูแล ส่งเสริมสุขภาพตนเองได้อย่างเหมาะสม
- ผุ้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลแบบองค์รวม โดยทีมสหวิชาชีพ มีสุขภาวะที่ดีใกล้เคียงกับคนปกติ ภายในบริบทของชุมชนที่เอื้อต่อภาวะสุขภาพ
- พัฒนาหน่วยบริการแม่ข่ายโดยมีแพทย์ออกปฏิบัติงานและรับส่งต่อผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูงที่ ไม่สามารถควบคุมระดับน้ําตาลได้
คลินิกเบาหวาน คลินิกความดันโลหิตสูง ใน ผู้ป่วยที่ลงทะเบียนรายใหม่มีการทำกลุ่มสุขศึกษาในลักษณะกลุ่มช่วยเหลือตนเอง(Self Help Group)โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ประกอบด้วย พยาบาล เภสัชกร นักกายภาพบำบัด และนักโภชนากร
การจำแนกประเภทความดันเลือดโดย ESH-ESC BHS IV และสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย |
|||
---|---|---|---|
ประเภท | ความดันช่วงหัวใจบีบ (มม.ปรอท) |
ความดันช่วงหัวใจคลาย (มม.ปรอท) |
|
เหมาะสม | <120 | และ | <80 |
ปกติ | 120–129 | และ/หรือ | 80–84 |
ปกติค่อนสูง | 130–139 | และ/หรือ | 85–89 |
ความดันโลหิตสูงระยะที่ 1 | 140–159 | และ/หรือ | 90-99 |
ความดันโลหิตสูงระยะที่ 2 | 160-179 | และ/หรือ | 100-109 |
ความดันโลหิตสูงระยะที่ 3 | ≥180 | และ/หรือ | ≥110 |
ความดันโลหิตเฉพาะ ช่วงหัวใจบีบสูง |
≥140 | และ/หรือ | <90 |
เกณฑ์การรับผู้ป่วยเข้าคลินิกเบาหวาน
- ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานทุกรายที่ยังไม่เคยลงทะเบียน
- หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโรคเบาหวาน
- ผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้(มีค่าระดับน้ำตาลใน เลือด(FBS) มากกว่าหรือเท่ากับ 180 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์) หรือมีโรคแทรกซ้อนหลายอย่าง
- ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลและจำหน่ายออกจากตึกผู้ป่วยในอายุรกรรม ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคเบาหวานร่วมกับโรคอื่น (จะนัดพบแพทย์ครั้งแรกที่คลินิกเบาหวาน)
เกณฑ์การจำหน่ายผู้ป่วยออกจากคลินิกเบาหวาน
- ผู้ป่วยที่สามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม(มีค่าระดับ น้ำตาลในเลือด(FBS)ประมาณ 140 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์)
- ผู้ป่วยที่มีสิทธิการรักษา ชำระเงินเบิกได้ ที่ต้องการไปรับบริการที่คลินิกอายุรกรรมเบาหวานนอกเวลา วันจันทร์
- หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโรคเบาหวานหลังจากคลอดบุตรแล้ว ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ
เกณฑ์การรับผู้ป่วยเข้าคลินิกความดันโลหิตสูง
- ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงทุกรายที่ยังไม่เคยลงทะเบียน
- ผู้ป่วยที่มีปัญหาการปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง ต้องการดูแลอย่างต่อเนื่อง
- ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ได้รับยามากกว่า 3 ชนิด และยังไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้
- ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจร่วมด้วย
- ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่เป็นโรคเบาหวานและมีภาวะแทรกซ้อนหลายระบบ
เกณฑ์การจำหน่วยผู้ป่วยออกจากคลินิกความดันโลหิตสูง
- ผู้ป่วยที่ลงทะเบียนแล้วและสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี(ความดัน โลหิตไม่เกิน 130/80มิลลิเมตรปรอท) และใช้ยารักษาไม่เกิน 2 ชนิด
- ผู้ป่วยที่มีสิทธิการรักษา ชำระเงินเบิกได้ ที่ต้องการไปรับบริการคลินิกอายุรกรรมความดันโลหิตสูงนอกเวลา วันพฤหัสบดี
- ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีภาวะไตวาย
กราฟแสดงข้อมูลจำนวนผู้รับบริการโรคเรื้อรัง ปี 2556 – 2558
ตาราง/กราฟ