…พัฒนา ‘ทีมหมอครอบครัว (Family Care Team)’ ดูแลประชาชนทุกครัวเรือน โดยแบ่งหมู่บ้านให้บุคลากรสาธารณสุขแต่ละคนดูแลให้คำปรึกษา ดูแลถึงบ้าน ประสานงานส่งต่อโดยมีแพทย์เป็นที่ปรึกษา…
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน, 20 ตุลาคม 2557
ทีมหมอครอบครัว หมายถึง ทีมที่ประกอบด้วยสหวิชาชีพทั้งด้านการแพทย์และการสาธารณสุขทั้งในหน่วยบริการใกล้บ้านและในโรงพยาบาลรวมถึง อสม. อปท. ชุมชน ภาคประชาชน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพของประชาชน เพื่อดูแลปัญหาด้านกาย ครอบคลุมทั้งรักษาส่งเสริม ป้องกัน และดูแลด้านจิตใจ สังคม บรรเทาทุกข์ พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ครอบครัว ชุมชน อย่างใกล้ชิด เข้าถึง เข้าใจ
หมอครอบครัว หมายถึง บุคลากรสาธารณสุขที สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรขึ้นไปที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับด้านสาธารณสุขในพื้นที่ทรับผิดชอบของ รพ.สต./ศสม./ท้องถิ่น และหน่วยบริการปฐมภูมิทุกสังกัดโดยรับผิดชอบประชากรประมาณ 1,250 – 2,500 คน/หมอครอบครัว ร่วมกับทีมหมอครอบครัวในโรงพยาบาล
แพทย์ที่ปรึกษา/แพทย์หัวหน้าทีม หมายถึง แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป/แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/แพทย์เฉพาะทางหรือแพทย์ท มีความสนใจในงานบริการระดับปฐมภูมิ
กลวิธีดำเนินการ “ประชาชนอุ่นใจ มีญาติทั่วไทยเป็นทีมหมอครอบครัว”
- มี ทีมหมอครอบครัว ดูแล ช่วยเหลือ ให้คาปรึกษา ทุกครอบครัว ประดุจญาติมิตร
- ให้การ ดูแลครอบคลุมทุกมิติ รักษา ส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟู แบบองค์รวม ต่อเนื่อง และผสมผสาน
- ให้การดูแลผู้ป่วยและครอบครัวทั้ง ในหน่วยบริการ และมี ทีมงานเยี่ยมถึงบ้าน อย่างใกล้ชิดและทั่วถึง
- มีการ ประสานงานรับ – ส่งต่อ ผู้ป่วยในทุกระดับของการบริการ อย่างใกล้ชิดเหมาะสมตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน รพ.สต. และ รพ.ทุกระดับ
- ให้การดูแลครอบครัวที่มีประชากร กลุ่มเสี่ยง อย่างครอบคลุมและครบถ้วน
- ลดทุกข์ เพิ่มสุข ให้แก่ครอบครัว และ ชุมชน เพื่อการมี คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
เป้าหมาย
คือให้ คนไทย มีทีมหมอครอบครัว ประจำตัวทุกครัวเรือน “ประชาชนอุ่นใจ มีญาติทั่วไทยเป็นทีมหมอครอบครัว”
ประชาชนได้อะไรจากหมอครอบครัว
- ประชาชนมีช่องทางการสื่อสารและขอคำปรึกษา ดูแลต่อเนื่อง กับผู้ให้บริการสุขภาพมากขึ้น มีชื่อทีมหมอครอบครัวที่เป็นเจ้าของในการดูแลครอบครัวอย่างชัดเจน การบริการสุขภาพก็จะมีอย่างทั่วถึงและครอบคลุม โดยเฉพาะการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลพิเศษ ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง
- หมอครอบครัวจะเป็นผู้ดูแลต่อเนื่อง ช่วยประสานงานเรื่องการส่งต่อผู้ป่วยไปโรงพยาบาล ในกรณีที่มีปัญหาซับซ้อนที่หมอครอบครัวดูแลไม่ได้ โดยไม่ต้องถือใบส่งตัวไปโรงพยาบาลเหมือนในอดีต
- เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิรูประบบบริการสุขภาพในทศวรรษนี้ที่เพิ่มคุณภาพ ต่อยอดจากการปฏิรูประบบบริการสุขภาพให้มีความทั่วถึงในทศวรรษที่ผ่านมา ช่วยลดปัญหาโรคร้ายแรงต่างๆ ได้เนื่องจากเมื่อมีหมอครอบครัว ประชาชนจะได้รับการดูแล ส่งเสริมสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม มีการตรวจคัดกรองโรค ดูแลต่อเนื่องทำให้พบปัญหาสุขภาพเร็วขึ้น การดูแลรักษาก็จะไม่ยากอีกต่อไป
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
รูปภาพการดำเนินงาน
ภาพยนตร์โฆษณา “ทีมหมอครอบครัว”
การดำเนินงานเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดบ้านของทีมหมอครบครัวอำเภอกุดข้าวปุ้น
การดำเนินงานเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดบ้าน โดยทีมเยี่ยมบ้าน รพ.สต.กาบิน ตำบลกาบิน อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี นำทีมโดยท่าน ผอ.รพ.สต.กาบิน นางวิจิตรา ผดุงวิทย์ และทีมสหวิชาชีพ รพ.สต.กาบิน เพื่อให้การดูแลสุขภาพผู้ป่วยแบบองค์รวม แก่ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง (palliative Care) กรณีตัวอย่างในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.กาบิน เพื่อ
- ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นในด้านต่างๆ ได้แก่ จิตใจ สังคม สิ่งแวดล้อม
- ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลจากทีมหมอครอบครัว มีสุขภาพดีขึ้น ไปรับรักษาที่โรงพยาบาลน้อยลง
- ผู้ดูแลผู้ป่วยมีทุกข์น้อยลง มีเวลาไปทำงานประกอบอาชีพเพื่อเลี้ยงดูครอบครัว
- โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน ต้องทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้ทีมหมอครอบครัวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลด้วยระบบให้คำปรึกษา รวมทั้งจัดระบบส่งต่อที่มีคุณภาพ สร้างความมั่นใจประชาชน ไม่กังวลว่าต้องไปพบใครเมื่อต้องไปรักษาในโรงพยาบาลขนาดใหญ่
“ประชาชนอุ่นใจ มีญาติทั่วไทยเป็นทีมหมอครอบครัว”